องค์การบริหารส่วนตำบลแสงสว่าง

“สิ่งแวดล้อมสวยงาม วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นก้าวหน้า พัฒนาคุณภาพชีวิตและการให้บริการประชาชนอย่างเป็นเลิศ”

ข้อมูลพื้นฐาน

โครงสร้างข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลแสงสว่าง

  1. ด้านกายภาพ

      1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

            ประกอบด้วย8 หมู่บ้าน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลแสงสว่างมีจำนวนหมู่บ้านเต็มจำนวน 4 หมู่บ้าน ประกอบด้วย

      1. บ้านท่าสี    หมู่ที่ 3
      2. บ้านทับไฮ  หมู่ที่ 4
      3. บ้านท่ายม  หมู่ที่ 5
      4. บ้านท่ายม  หมู่ที่ 8

และจำนวนหมู่บ้านบางจำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่

  1. บ้านแสงสว่าง หมู่ที่ 1
  2. บ้านแสงสว่าง หมู่ที่ 2
  3. บ้านแสงสว่าง หมู่ที่ 6
  4. บ้านแสงสว่าง หมู่ที่ 7

อาณาเขต เขตการปกครองมีพื้นที่  118.84 ตร.กม. องค์การบริหารส่วนตำบลแสงสว่าง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอหนองแสง ระยะทางห่างจากตัวอำเภอหนองแสงประมาณ 5 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลพื้นที่ต่าง ๆ ดังนี้

            อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี
  • ทิศใต้  ติดต่อกับ ตำบลหนองกุงศรี อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลนาดี อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี
  • ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ ป่าสงวนแห่งชาติป่าปะโค-พันดอนเทือกเขาภูพานน้อยอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี

องค์การบริหารส่วนตำบลแสงสว่าง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง

ตั้งอยู่ที่ 144  หมู่ที่  8  ตำบลแสงสว่าง  อำเภอหนองแสง  จังหวัดอุดรธานี

โทรศัพท์ 042-134411

1.2 ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่ตำบลแสงสว่าง เป็นพื้นที่อยู่ติดเขตภูเขา ลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลึก มีความลาดชัน 85 % มีพื้นที่ราบประมาณ 15% พื้นดินมีการกัดเซาะมาก ทาให้หน้าดินไหลลงสู่ที่ต่ำมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 250 เมตร

           1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

ตำบลแสงสว่าง มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุด 42 องศาเซลเซียส สภาพอากาศมี 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อนฤดูฝน

  • ฤดูร้อน อากาศจะร้อนพอสมควร โดยเริ่มตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมกราคม  ถึงเดือนเมษายน   ซึ่งอากาศจะร้อนมากในช่วงเกือบปลายเดือนเมษายนเป็นต้นไป   โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่  34 – 39  องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน   ช่วงฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน  ถึง  เดือนพฤศจิกายน   และฝนจะตกหนักมากในช่วงเดือนกรกฎาคม  ถึง  เดือนกันยายน  ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย  3,550.9  มิลลิเมตร/ปี   อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่  26 – 29  องศาเซลเซียส
  • ฤดูหนาว  ในช่วงฤดูหนาวอากาศจะไม่หนาวมากนัก จะมีลมพัดพาเอาความเย็น (ลมว่าว)  เข้ามาในหมู่บ้าน  ทำให้อากาศเย็นสบายอยู่เพียงไม่กี่วัน   โดยจะอยู่ในช่วงกลางเดือนธันวาคมและต้นเดือนมกราคมของทุกปี  มีเพียงบางปีเท่านั้นที่มีอากาศหนาวเย็นอยู่หลายวัน  อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ  24 – 27  องศาเซลเซียส

1.4 ลักษณะของดิน                                                                                   

ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย  ประมาณ  75% ดินลูกรังประมาณ 15% ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ 10 %

           1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ  อุปโภค-บริโภค  เป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและองค์การบริหารส่วนตำบลได้ดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน  ดังนี้

  • ลำห้วย           ๑        แห่ง
  • สระน้ำ            –         แห่ง
  • หนองน้ำ         1        แห่ง
  • บ่อน้ำตื้น         –         แห่ง
  • ลำคลอง          1        แห่ง
  • บ่อบาดาล        26      แห่ง
  • บึง                –         แห่ง
  • อ่างเก็บน้ำ       2        แห่ง
  • แม่น้ำ             –         แห่ง
  • ฝาย              –         แห่ง
  • เหมือง           –         แห่ง
  • น้ำตกคอยนาง 1 แห่ง
  • อื่นๆ (ระบุ) คลองชลประทาน 1 แห่ง

1.6 ลักษณะของไม้และป่าไม้

ลักษณะของป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นพืชสวน 70%  ป่าสงวน/ป่าอนุรักษ์/ 30%

  1. ด้านการเมือง/การปกครอง

            2.1 เขตการปกครององค์การบริหารส่วนตำบลแสงสว่างประกอบด้วยหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน มีพื้นที่อยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด 4 หมู่บ้าน ดังนี้

      • หมู่ที่ 3 บ้านท่าสี                    ผู้ปกครอง  นางกาญจน์  อุตโรกุล        ผู้ใหญ่บ้าน
      • หมู่ที่ 4  บ้านทับไฮ                ผู้ปกครอง  นายละม่อม  สิทธิศักดิ์        ผู้ใหญ่บ้าน
      • หมู่ที่ 5 บ้านท่ายม                 ผู้ปกครอง  นายถวิล  ชัยนอก               ผู้ใหญ่บ้าน
      • หมู่ที่ 8  บ้านท่ายม                ผู้ปกครอง  นายประดิษฐ์  มงคลคำชาว   ผู้ใหญ่บ้าน

            2.2 การเลือกตั้ง   องค์การบริหารส่วนตำบลแสงสว่างมีทั้งหมด4หมู่บ้าน  ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี

  1. ประชากร

                        3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

จำนวนครัวเรือน

  1. บ้านท่าสี 185 ครัวเรือน
  2. บ้านทับไฮ  293  ครัวเรือน
  3. บ้านท่ายม ม.5  238  ครัวเรือน
  4. บ้านท่ายม ม.8  211 ครัวเรือน
  1. สภาพทางสังคม

 4.1 การศึกษา

จำนวนสถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดอปท. 1 แห่ง จำนวนครูที่อยู่ในสังกัดอปท. 1 คนจำนวนนักเรียนที่อยู่ในสังกัดอปท.  65  คนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 แห่งจำนวนครู 3 คนจำนวนผู้ดูแลเด็ก(พนักงานจ้างตามภารกิจ) 2 คนข้อมูลกีฬา นันทนาการ และพักผ่อนจำนวนสวนสาธารณะ 1แห่ง  จำนวนลานกีฬา 3 แห่ง   จำนวนสนามกีฬา 3 แห่ง

4.2 สาธารณสุข

จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า  ประชาชนกรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี  มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง  โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน เช่นกัน  ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน  โรคเอดส์  โรคไข้เลือดออก  มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่นๆ ประชาชนส่วนได้รับการดูแลสุขภาพอนามัยจาก สถานพยาบาลมี 1แห่ง คือ รพสต.ตำบลท่าสี และ อสม.ประจำหมู่บ้าน

4.3 อาชญากรรม   ไม่มีการก่ออาชญากรรมในคดีใหญ่ ๆ มีแต่คดีลักเล็กขโมยน้อยทั่ว ๆไป

4.4 ยาเสพติด    มีปัญหาผู้เสพยาเสพติดเล็กน้อยแต่ได้รับการบำบัดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

4.5 การสังคมสงเคราะห์    มีการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพให้แก่ ผู้ติดเชื้อเอดส์ 11 ราย /ผู้พิการ 99 ราย/ ผู้สูงอายุ 412 ราย

  1. ระบบบริการพื้นฐาน

                   5.1 การคมนาคมขนส่ง

        • จำนวนถนนลูกรัง  21  สาย
        • จำนวนถนนลาดยาง   12  สาย
        • จำนวนถนนคอนกรีต 4 สาย
        • จำนวนสะพานคอนกรีต     7    แห่ง

5.2 การไฟฟ้า     จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้     913     ครัวเรือน

5.3 การประปา    จำนวนครัวเรือนที่มีประปาใช้    913     ครัวเรือน

5.4 โทรศัพท์      โทรศัพท์แบบหยอดเหรียญ 4 แห่ง    ประชาชนส่วนใหญ่ใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตามตัวเป็นส่วนใหญ่

5.5 ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์     ตัวแทนไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง

  1. ระบบเศรษฐกิจ

6.1 การเกษตร  การผลิตพืช ตำบลแสงสว่าง มีการผลิตพืชที่สำคัญ ดังนี้

      1. การปลูกข้าว เกษตรกรในตำบลแสงสว่าง นิยมปลูกข้าวโดยวิธีหว่านซึ่งจะหว่านช่วงปลายเดือน เมษายน -พฤษภาคม และปลูกโดยวิธีปักดำ ซึ่งจะตกกล้าในเดือนมิถุนายนจะปักดำในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม วิธีปักดำจะใช้วิธีสับหว่าง โดยใช้ระยะประมาณ 30 x 25หรือ 30 x 30 เซนติเมตร ส่วนการเตรียมดินใช้การไถดะ ไถแปร และคราด โดยรถไถนาเดินตาม และคราด การใช้ปุ๋ย เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์กันมาก ใส่อัตรา 50 -75 กิโลกรัมต่อไร่ การเก็บเกี่ยวจะเริ่มเดือนพฤศจิกายน ปัจจุบันเกษตรกรจะตากข้าวประมาณ 1 – 3 แดดก็จะมัดข้าว และใช้แรงงานคนหรือใช้รถนวดข้าว

ปัญหาการปลูกข้าวของตำบลแสงสว่าง

          • พื้นที่โดยทั่วไปยังอาศัยน้ำฝน ปีไหนเกิดฝนทิ้งช่วงนาน จะทำให้ข้าวขาดน้ำ และจะชะงักการเจริญเติบโต ซึ่งมีผลกระทบทำให้ผลผลิตข้าวตกต่ำ
          • ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินเป็นดินร่วนปนทรายมีความเหมาะสมในการปลูกข้าวปานกลาง
          • เกษตรกรยังใช้เทคโนโลยีในการผลิตข้าวไม่มาก ส่วนใหญ่จะทำตามประเพณี พ่อแม่เคยทำมา ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมง่าย ๆ
          • ปัญหาเรื่องโรค แมลงศัตรูข้าว เช่น โรคใบไหม้
          • ปัญหาพื้นที่ทำนาเหลือน้อยลง เป็นเพราะได้แบ่งให้ลูกหลายคนซึ่งปัจจุบันเฉลี่ยจะอยู่ประมาณ 5-7 ไร่ ต่อครัวเรือน เกษตรกรจึงปลูกข้าวไว้บริโภคเป็นหลัก เหลือก็จำหน่าย ด้านการตลาด เกษตรกรจะนำข้าวไปจำหน่ายที่โรงสีข้าวในอำเภอกุมภวาปี ซึ่งจะขายทีละไม่มาก แต่ขายหลาย ๆ ครั้ง
      1. การปลูกอ้อยโรงงาน เกษตรกรในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแสงสว่าง จะปลูกอ้อยโรงงานเป็นอาชีพ เพราะไม่เก็บไว้บริโภคเหมือนข้าวจะทำการขายหมดในแต่ละฤดู เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 70ไม่มีโควตากับโรงงานน้ำตาล จะปลูกแล้วขายให้พ่อค้ามาซื้อเหมาในแปลง การปลูกจะปลูกเป็นร่องแถวไถเตรียมดิน 2-3 ครั้ง แล้วยกร่องปลูก ความห่างระหว่างร่องปลูกประมาณ 1.20  เมตร พันธุ์ที่ใช้ปลูกเกษตรกร จะไม่ค่อยคำนึงถึงมากนัก หาได้สะดวก พันธุ์อะไรก็ได้ ปัจจุบันมีพันธุ์ K ต่าง ๆ พันธุ์ F14 พันธุ์อู่ทอง และพันธุ์ฯขอนแก่น 3 การใช้ปุ๋ยเกษตรกรจะใช้ปุ๋ยเคมีกับอ้อยเพิ่มขึ้นทุกปีถึงจะเพิ่มผลผลิตได้ จะใช้ 50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากใส่ปุ๋ยแล้ว เกษตรกรก็จะประกาศขาย และก็มีพ่อค้ารับซื่อเหมาแปลง และพ่อค้าจะดูแลต่อไป ส่วน เกษตรกรที่มีโควตากับโรงงานก็จะดูแลจนถึงเก็บเกี่ยวส่งโรงงาน การเก็บเกี่ยวก็ใช้คนงานตัดทำเป็นมัด ๆ ละ 15 – 20 ลำ จะเริ่มเก็บเกี่ยวเดือนพฤศจิกายนเมื่อโรงงานเปิดหีบอ้อย การปลูกจะปลูกเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายนก่อนโรงงานหีบอ้อย ด้านการตลาด อ้อยจะเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้าตาลในอำเภอกุมภวาปี

1.13   ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

1) ขนาดการถือครองที่ดิน

เกษตรกรในตำบลแสงสว่าง มีขนาดการถือครองที่ดินเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 5 -7 ไร่ต่อครัวเรือน

ตำบลแสงสว่างอำเภอหนองแสงจังหวัดอุดรธานีตัดยอดข้อมูลวันที่ 31 มีนาคม 2554

2) สิทธิในที่ดินทำกิน

เนื่องจากสภาพพื้นที่อำเภอแสงสว่าง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นส่วนใหญ่ การมีกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน ส่วนมากเกษตรกรจะไม่มีกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน เกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่มีพื้นที่ถือครองถึงแม้ว่าเกษตรกรที่มีพื้นที่ถือครองก็จะไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินนั้นกรรมสิทธิ์

ในที่ดินทำกินนี้เกษตรกรมีอยู่ ส่วนมากจะเป็นโฉนด, นส3ก., นส3. ที่ดินทำกินส่วนใหญ่เป็นป่าสงวน ป่าปะโค – พันดอน ปัจจุบันมีการรางวัดออกเป็น สปก. ให้เกษตรกร ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการจากสถิติการออกใบสำคัญ

นส.3 ก.ทั้งอำเภอปี 2553 มีทั้งหมด 31,640 ไร่ และพื้นที่ที่มีเอกสารดังกล่าวส่วนมากจะเป็นพื้นที่ของนายทุนหรือเกษตรกรที่มีฐานะดีพอสมควร

6.2 การประมง     

6.3 การปศุสัตว์

      1. โคเนื้อ จะเลี้ยงโคเนื้อพื้นเมือง และโคเนื้อลูกผสมคิดเป็น โคพื้นเมือง 40% โคเนื้อลูกผสม 60%
      2. กระบือ จะเลี้ยงไว้ใช้งานและขยายพันธุ์
      3. สัตว์ปีก เลี้ยงไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือน ปัจจุบันประชากรไม่ค่อยนิยมเลี้ยงเป็นการค้าเพราะผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกระบาด
      4. สัตว์น้ำ ส่วนมากจะเลี้ยงปลานิล ปลาดุก ปลากินพืช ไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือน

 6.4 การบริการ    อบต.แสงสว่าง มีจำนวนโรงแรม /รีสอร์ท ที่เปิดให้บริการในเขตพื้นที่ จำนวน  1 แห่ง  คือ  AP รีสอร์ท

 6.5 การท่องเที่ยว   น้ำตกคอยนาง อ่างเก็บน้ำวังขอนแดง

6.6 อุตสาหกรรม   อบต.แสงสว่าง  ได้มีการดำเนินการจัดให้มีแสงสว่างสาธารณะ ใช้ครบทุกหมู่บ้านและได้มีการซ่อมบำรุงเป็นประจำ ทั้งนี้อบต.แสงสว่าง มีโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม ตั้งอยู่ในพื้นที่

      • โรงงานผลิตน้ำดื่มและน้ำแข็งปรัชญานีย์
      • ปั้มน้ำมัน จำนวน  2  แห่ง
      • บ่อก๊าซภูฮ่อม บ่อ 3,4

6.7 การพาณิชย์/กลุ่มอาชีพ

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแสงสว่าง

อำเภอหนองแสง  จังหวัดอุดรธานี

6.8 แรงงาน

                 3) จำนวนแรงงาน   ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งรายได้หลัก คือ การทานา ทำไร่โดยเฉพาะการทำไร่อ้อย หรือรับจ้างทาไร่อ้อย แรงงานส่วนใหญ่ประมาณ90% จะใช้ทำไร่อ้อยเนื่องจากสภาพภูมิประเทศของอำเภอหนองแสงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม แรงงานภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่มีการจ้างตามฤดูกาลเท่านั้น ไม่จ้างตลอดปี

      • แรงงานเฉลี่ยในครัวเรือน เฉลี่ย 3 คน/ ครัวเรือน
      • แรงงานกรรมกร/รับจ้าง เฉลี่ย 1 คน/ครัวเรือน
      • ค่าจ้างแรงงานวันละ 170-200 บาท / ครัวเรือน
      • ระยะเวลาในการจ้าง จ้างตามฤดูกาลการเกษตร ไม่จ้างตลอดปี

7.เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้านหรือชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลแสงสว่างมีจำนวนหมู่บ้านในเขตอบต. จำนวน  4 หมู่บ้าน  มีประชากรทั้งสิ้น 3,591 คน แยกเป็น ชาย 1,820 คน หญิง 1,771คน

7.2  ข้อมูลด้านการเกษตร

          1. บ้านท่าสี หมู่ที่ 3

2.บ้านทับไฮ หมู่ที่ 4

3. บ้านท่ายม หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 8

7.3  ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร

        • แหล่งน้ำทางการเกษตร (ธรรมชาติ)      ห้วย/ลำธารจำนวน 4  แห่ง เพียงพอ
        • แหล่งน้ำทางการเกษตร (ที่มนุษย์สร้าง)      อ่างเก็บน้ำจำนวน 4  แห่ง เพียงพอ

ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)

        • มีการใช้น้ำประปาหมู่บ้าน (ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) จำนวน 4 หมู่บ้าน เพียงพอกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
        • มีบ่อบาดาลน้ำตื้นสาธารณะ  จำนวน 3 แห่ง ต้องรอการขุดลอกเพื่อให้มีน้ำใช้ในปริมาณที่เพียงพอ
        • มีบ่อบาดาลสาธารณะ  จำนวน 3 แห่ง ต้องรอการขุดลอกเพื่อให้มีน้ำใช้ในปริมาณที่เพียงพอ

8. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

8.1 การนับถือศาสนา   ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

8.2 ประเพณีและงานประจำปี การจัดงานบุญ/งานประเพณีต่าง ๆ  จะจัดกันตามความเชื่อที่ยึดถือปฏิบัติกันมาทุกปีและตามจารีตประเพณีเช่นประเพณีลอยกระทง , วันสงกรานต์ ,วันออกพรรษา

                   8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ประชาชนในเขตได้อนุลักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ได้แก่  วิธีการทำเครื่องจักสารใช้สำหรับในครัวเรือน  วิธีการเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม  วิธีการทอเสื่อจากต้นกก  และวิธีการจับปลาธรรมชาติ

ภาษาถิ่น  ส่วนมากร้อยละ 90% พูดภาษาอีสาน

8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

ผ้าฝ้ายทอมือ การทอผ้าไหม  ผ้าขาวม้า ตะกร้าสานพลาสติก

  1. ทรัพยากรธรรมชาติ

            9.1 น้ำ ที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค  เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และโรงงานผลิตน้ำของหมู่บ้าน ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการของระบบประปา สำหรับน้ำใต้ดินมีปริมาณน้อย  ไม่สามารถนำขึ้นมาใช้ให้พอเพียงได้ และบางแห่งเค็ม ไม่สามารถใช้ดื่มและอุปโภคได้

            9.2 ป่าไม้ เนื่องจากสภาพพื้นที่อำเภอแสงสว่าง อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นส่วนใหญ่ การมีกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน ส่วนมากเกษตรกรจะไม่มีกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน เกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่มีพื้นที่ถือครองถึงแม้ว่าเกษตรกรที่มีพื้นที่ถือครองก็จะไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินทากินนี้เกษตรกรมีอยู่ ส่วนมากจะเป็นโฉนด, นส3ก., นส3. ที่ดินทำกินส่วนใหญ่เป็นป่าสงวน ป่าปะโค – พันดอน ปัจจุบันมีการรางวัดออกเป็น สปก. ให้เกษตรกร ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการจากสถิติการออกใบสำคัญ นส.3 ก.ทั้งอำเภอปี 2553 มีทั้งหมด 31,640 ไร่ และพื้นที่ที่มีเอกสารดังกล่าวส่วนมากจะเป็นพื้นที่ของนายทุนหรือเกษตรกรที่มีฐานะดีพอสมควร

9.3 ภูเขา เป็นภูเขาสูงสามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองอุดรได้อย่างสวยงาม

9.4  คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลแสงสว่างส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย  ร้านค้า  สถานประกอบการ  ตามลำดับ  และมีพื้นที่เพียงเล็กน้อยที่เป็นพื้นที่สาธารณะ  ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่  ก็ได้แก่  ดิน  น้ำ  ต้นไม้  อากาศที่ไม่มีมลพิษ ปัญหาคือ เนื่องจากว่าพื้นที่บางส่วนเป็นดินเค็ม  น้ำใต้ดินก็เค็ม  หรือไม่ก็เป็นน้ำกร่อย  ไม่สามารถที่จะนำน้ำจากใต้ดินมาใช้ในการอุปโภค-บริโภคได้ได้ ต้องอาศัยน้ำดิบจากแหล่งอื่น  และน้ำฝนน้ำในการเกษตรก็ต้องรอฤดูฝน มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ  ปัญหาคือยังไม่สามารถหาแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรได้เพิ่มขึ้น  เพราะพื้นที่ส่วนมากเป็นของประชาชน  เอกชน  ปัญหาด้านขยะ  เมื่อชุมชนแออัดขยะก็มากขึ้น  แก้ปัญหาให้กับประชาชนและเป็นไปตามความต้องการของประชาชนเช่น โครงการจัดหาถังขยะรองรับขยะให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่โครงการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่างๆ ในพื้นที่ของตนเองและที่สาธารณะรวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของ อบต.ให้ร่มรื่นสวยงาม ให้เป็นเมืองน่าอยู่ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน

  1. อื่น ๆ(ถ้ามี/ระบุด้วย)  –

mungmee